วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

  กิจกรรมที่ 8


                       พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
       ให้นักศึกษาศึกษาพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
 1.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อใด  และมีผลบังคับใช้เมือใด
คำตอบ  ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2546  และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใช้ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
2.ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือใคร
คำตอบ  นายกรัฐมนตรี 
 
3.เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพราะอะไร
        คำตอบ  เพราะมีการปฏิรูประบบราชการ  เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อความต้องการของประเทศ  และให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น    
 
4.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีกี่หมวดกี่มาตรา ประกอบด้วยอะไรบ้าง
                คำตอบ  9 หมวด  53 มาตรา        
 
5.วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบอะไรบ้าง
                คำตอบ วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบ ดังนี้
1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
 
6.หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
                คำตอบ  สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  สำนักนายกรัฐมนตรี  สำนักงบประมาณ  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  หน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
 
7.หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลากี่วัน
                คำตอบ  ภายใน 90 วัน
 
8.แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น  กำหนดให้จัดทำแผนกี่ปี
                คำตอบ   4 ปี
9.ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือใคร
                คำตอบ สำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับ
 
10.การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินอะไรบ้าง อธิบาย
                คำตอบ ประเมินผลการปฏิบัติราชของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาที่ ก.พ.ร. กำหนด  เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลให้ส่วนราชการประเมินโดยคำนึงถึงผลกาปฏิบัติงานเฉพาะตัวของข้าราชการผู้นั้นในตำแหน่งที่ปฏิบัติ  

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาเรียน


ทดสอบกลางภาคเรียน

1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร

คำตอบ    คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับและควบคุมพฤติกรรมของประชาชนอยู่
กฎหมายต้องมีลักษณะ๕ ประการดังนี้
            1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
 2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์

3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม
 
5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
      หลักความเสมอภาคถือว่าเป็นหลักพื้นฐานของศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันในฐานะ ที่เป็นมนุษย์โดยมิต้องคำนึงถึงคุณสมบัติอื่นๆ อาทิเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ถิ่นกำเนิด เป็นต้น
      ดังนั้นหลักความเสมอภาคใต้กฎหมายจึงเป็นหลักการที่ทำให้มีการปฏิบัติต่อ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่เลือกปฏิบัติ (non-discrimination) ทั้งนี้การปฏิบัติตามหลักความเสมอภาคนั้นจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระ สำคัญเหมือนกันอย่างเท่าเทียมกัน และจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญแตกต่างกันให้แตกต่างกันไปตามลักษณะ ของเรื่องนั้นๆ จึงจะทำให้เกิดความยุติธรรมภายใต้หลักความเสมอภาคขึ้นได้
2. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
คำตอบ  เห็นด้วย เพราะว่า  สิ่งสำคัญของใบวิชาชีพครูถือเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพและเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น ที่สำคัญข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะตาม พรบ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  มากไปกว่านั้นตามกฎหมาย พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ได้กำหนดให้ “วิชาชีพครู” เป็นวิชาชีพควบคุม ผู้ประกอบวิชาชีพนี้จำเป็นต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” จึงจะเป็น “ครู” ได้
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่าง
ไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง

คำตอบ

               โดยอาจจัดเก็บภาษีเพื่อการศึกษาได้ตามความเหมาะสม  ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยเป็นผู้จัดและมีส่วน ร่วมในการจัดการศึกษา บริจาคทรัพย์สิน และทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา  ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรดังกล่าว โดยการสนับสนุน การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี
ตัวอย่าง
                ควรใช้การจัดทำโครงการในการระมทุน เพราะตัวโครงการจะทำให้เห็นผลงานและเรียนรู้กระบวนการทำงานได้มากที่สุด ยกตัวอย่าง เช่น โครงการเกี่ยวกับการส่งเสริม หรือการพัฒนาการเรียนการสอน เช่นเราต้องการให้เด็กพัฒนาด้านการสื่อสารการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จึงจัดทำโครงการขึ้นโดยรวมตัวกับเพื่อนนักศึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและมีจิตศรัทธาในการมอบความรู้เพื่อการพัฒนาทางด้านภาษาของเด็กๆโดยการสอนเสริม และขอแรงเสริมสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนการปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้มีจิตสาธารณะในการส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษา

4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
คำตอบ  รูปแบบของการจัดการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล
2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา เช่น การศึกษานอกระบบ
3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเรียนรู้สามารถเลือกเนื้อหาที่สนใจเป็นประโยชน์กับตนได้ และสามารถใช้เวลาที่ปลอดจากภารกิจการงานอื่นศึกษาเล่าเรียนได้ จึงเรียกว่าเป็นการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบมี 4 ระดับ ดังนี้
๑. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนการศึกษาภาคบังคับ
๒. การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานและให้สามารถคงสภาพอ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณได้
๓. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา เป็นการศึกษาหลังระดับประถมศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งวิชาการและวิชาชีพที่เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ และความถนัด เพื่อสามรถนำไปประกอบอาชีพและอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
คำตอบ   การศึกษาภาคบังคับเราศึกษามีผลบังคับในรัฐธรรมนูญ 9 ปี และการศึการศึกษาขั้นพื้นฐานมีสิทธิรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี ซึ่งบุคคลย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันเพื่อการศึกษา และในปัจจุบันนี้มีนโยบาย เรียนฟรี 15 ปีเสริมเข้ามาเพื่อผลประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การศึกษาของเด็กไทย


6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง

คำตอบ  มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้


  -   สำนักงานรัฐมนตรี

  -   สำนักงานปลัดกระทรวง

  -  สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

  -  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  -  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

-   สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
คำตอบ   ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาของชาติ จะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ 
                1. พัฒนาวิชาชีพครูตาม มาตรา 81 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา ตาม มาตรา 9 (4) แห่งพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
2. เพื่อปรับสภาในกระทรวงศึกษาธิการตาม พระราชบัญญัติ ครู พ.ศ. 2488 เป็นองค์กรวิชาชีพครูตาม มาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และให้เป็นไปตาม มาตรา 73 โดยกำหนดให้มี

3. เพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์และ เจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป


8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด  

คำตอบ  
มีการกระทำความผิด เพราะว่าเป็นผู้มีใบอนุญาตและไม่เคยถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา ต้องประพฤติกระทำตามถูกต้องตามกฎหมายของรัฐธรรมนูญ

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
คำตอบ      บทลงโทษที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประพฤติในทางที่ไม่ชอบไม่ควร ข้าราชการต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามถือว่า ผู้นั้นกระทำผิดวินัยจะต้องได้รับโทษ(มาตรา 65)   โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ
1. ภาคทัณฑ์

2. ตัดเงินเดือน
3. ลดขั้นเงินเดือน
4. ปลดออก
5. ไล่ออก


10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
คำตอบ   

“เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
“เด็ก เร่ร่อน” หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถ เลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
“เด็กกำพร้า” หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
“เด็ก ที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติ ปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
“ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือ จิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี
“เด็ก พิการ” หมายความว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา หรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
“เด็ก ที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิด กฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง